วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ต้นกำเนิดของการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์

โลจิสติกส์เกิดมาจากการปฏิบัติการทางการทหารในการสนับสนุนและส่งกำลังบำรุงกองทัพในสนามรบ คำว่าโลจิสติกส์มาจากภาษากรีก “Logistikos” ซึ่งมีความหมายว่าความเชี่ยวชาญในการคำนวณ ซึ่งความเชี่ยวชาญดังกล่าวก็ยังคงเป็นองค์ประกอบสำคัญของโลจิสติกส์ในปัจจุบัน จริงๆแล้วจากจุดเริ่มต้น โลจิสติกส์เป็นเพียงแค่เรื่องของการจัดหาที่พัก อาหาร และน้ำให้กับทหาร เมื่อกองทัพต้องเดินทัพห่างไกลจากฐานทัพ ทำให้เกิดความยุ่งยากในการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ทหารต้องแบกสัมภาระเพื่อใช้เป็นที่พักรวมทั้งอาหาร ซึ่งสามารถใช้ได้เพียง 2 – 3 วัน ในพื้นที่ซึ่งไม่สามารถหาอาหารได้ตามปริมาณที่ต้องการ การส่งกำลังบำรุงจึงต้องจัดหาอาหารและผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นเพื่อให้กองทัพสามารถยืนหยัดต่อสู้อยู่ได้ แต่ความยุ่งยากซ้ำซ้อนของโลจิสติกส์ก็เพิ่มขึ้น เช่น ปืนใหญ่ต้องการกระสุนและม้าเพื่อเคลื่อนย้ายปืนใหญ่ไปยังตำแหน่งที่ตั้ง ม้าต้องการหญ้าแห้งเพราะพวกมันไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้หากปราศจากพืชที่มันกินเป็นประจำ ม้าที่โตในอังกฤษและได้รับการเลี้ยงดูด้วยฟ่อนหญ้าแห้ง ( fodder ) ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับหญ้าจากทุ่งหญ้าในแอฟริกาใต้ได้ทันที กองทหารม้าแนวหน้าของอังกฤษต้องต่อสู้กับปัญหานี้ในช่วงสงคราม Anglo Boer
โลจิสติกส์ในทางการทหารได้เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วในศตวรรษที่19 ในยุโรป เนื่องจากยุโรปได้เข้าไปเกี่ยวข้องในสงครามมากมายหลายครั้ง การศึกษาเรื่องโลจิสติกส์อย่างเป็นทางการปรากฏหลักฐานในผลงานของ Antoine Henri, Baron of Jomini ซึ่งทั้งคู่มียศเป็นนายพลจัตวาในกองทัพของ Napolean เขาใช้คำ logistique ครั้งแรกในงานของเขาที่ชื่อว่า Precis de l’art de la guerre (Summary of the art of war) เราจะยกตัวอย่างความยุ่งยากซับซ้อนของโลจิสติกส์ทางการทหารให้เห็นภาพเหตุการณ์ดังนี้
การใช้กระสุนปืนใหญ่ในช่วง 1 เดือนของสงครามโลกครั้งที่ 1 มีปริมาณมากเป็นสองเท่าของการใช้กระสุนปืนใหญ่ระหว่าง\สงครามกลางเมืองสหรัฐฯ (ซึ่งยาวนานถึง 4 ปี) และในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 ปริมาณการใช้กระสุนปืนใหญ่ยิ่งเพิ่มมากขึ้น โดยประมาณการว่าต้องมีกระสุนปืนใหญ่เพิ่มขึ้น 10 ตัน เพื่อส่งทหารหนึ่งคนไปประจำที่ตั้งในสนามรบ และยังต้องการเพิ่มอีก 2 ตันต่อเดือนเพื่อเตรียมความพร้อมของทหารดังกล่าว
การสนับสนุน Zulu War ในปี ค.ศ.1879, Lord Chelmsford มีทหารกว่า 16,800 คน และมีกระสุนปืนใหญ่อยู่กว่า 2,000,000 ลูก มีเกวียน 2 ล้อ กว่า 113 เล่ม มีเกวียนบรรทุก 2 ล้อ 113 เล่ม เกวียนบรรทุก 4 ล้อ 612 เล่ม และยังมีสัตว์ที่ใช้ลากเกวียนอีก 7,626 ตัว เพื่อการลำเลียงส่งกำลังบำรุงจากศูนย์ส่งกำลังบำรุงไปยังกองทัพ และยังมีเกวียนกว่าร้อยที่ต้องลำเลียงกำลังบำรุงระหว่างศูนย์ไปยังส่วนต่างๆ ของกองทัพ ตัวอย่างสงครามล่าสุดก็คือ Gulf War ในชาวงทศวรรษ 1990 ก็เป็นการสะท้อนการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่ดีอีกตัวอย่างหนึ่ง สินค้าปริมาณมหาศาลถูกจัดส่งไปยังเครื่องบินลำเลียงและกองทัพ มีการรวบรวมอาวุธและยุทโธปกรณ์สนับสนุนเพื่อส่งให้เครื่องบินลำเลียงได้อย่างต่อเนื่องก่อนที่การขัดแย้งที่จะเริ่มขึ้น สุขอนามัยของทหารได้รับการดูแลเอาใจใส่ถึงขนาดที่ว่าการจัดส่งน้ำดื่มไปให้ทหารจะต้องเป็นในรูปขวดเพื่อรักษาสุขภาพของทหารให้อยู่ในสภาพดีที่สุด ผลลัพธ์จากการดำเนินการดังกล่าวก็คือสงครามจบสิ้นลงใน 43 วัน โดยมีการใช้กำลังสนับสนุนทางอากาศในการส่งกำลังบำรุงถึง 2,555 เที่ยวต่อวัน โลจิสติกส์ในกองทัพสมัยใหม่ไม่ใช่เป็นการส่งกระสุน อุปกรณ์และอาหารให้กับกองทัพ เครื่องบินลำเลียงและเรือลำเลียงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการจัดหาเครื่องอำนวยความสะดวกในการฝึก การเคลื่อนย้ายเพื่อการพักผ่อนและบันเทิง รวมทั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อทหารที่บาดเจ็บ การอพยพทหารที่บาดเจ็บและเสียชีวิตออกจากสนามรบรวมตลอดไปจนถึงการดำเนินการในการฝังศพด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น